ช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ทั่วทุกภาคปีนี้อากาศยังคงร้อน แห้งแล้ง ปริมาณฝนน้อย สลับมีพายุฤดูร้อนหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูร้อน มักจะเกิดพายุฤดู ร้อนในหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงรวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ซึ่งสภาวะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรได้ ส่วนปริมาณฝนที่ตกนั้น ยังคงมีไม่เพียงพอกับความต้องการในหลายพื้นที่ ทั้งด้านอุปโภค บริโภค การรักษาระบบ นิเวศน์และด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ดังนั้นประชาชนจึงควรใช้ น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เกษตรกรควรเตรียมพร้อมป้องกันความเสียหายจากการขาด แคลนน้ำไว้ล่วงหน้าด้วย

ขอให้เกษตรกรสำรองน้ำไว้ใช้ ศึกษาสภาพอากาศก่อนการเพาะปลูก คำนวนปริมาณน้ำให้เหมาะสม ดูแลผลผลิต ตัดแต่งกิ่ง และหมั่นสำรวจศัตรูพืชในแปลงปลูกพืชอย่างสม่ำเสมอ

กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ขอให้เกษตรกรผู้ปลูกพืช ระวังศัตรูพืชสำคัญต่างๆ ดังนี้


ภาคเหนือ
ลำไย ระวัง เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะผล มวนลำไย โรคพุ่มแจ้
ข้าวโพด ระวัง หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนเจาะลำต้น

ภาคกลางและภาคตะวันตก
ข้าว ระวัง หนอนห่อใบข้าว แมลงสิง โรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง
ซึ่งมักพบใน อากาศร้อน แห้งแล้ง สลับฝนตก
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย ด้วงหนวดยาว และ แมลงนูนหลวง
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ้อย ระวัง หนอนกออ้อย โรคใบขาว
มันสำปะหลัง ระวัง เพลี้ยแป้ง ไรแดง และโรคใบด่าง

ภาคตะวันออก
มันสำปะหลัง ระวัง เพลี้ยแป้ง ไรแดง และโรคใบด่าง
ไม้ผล ระวัง หนอนเจาะผล หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เพลี้ยไฟ โรครากเน่าโคนเน่า และโรคผลเน่า

ภาคใต้
ไม้ผล ระวัง หนอนเจาะผล เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง
มะพร้าว ระวัง หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด
ยางพารา ระวัง โรคใบร่วง โรครากขาว
ปาล์มน้ำมัน ระวัง โรคด้วงแรด และโรคทะลายเน่า

หากพบการระบาด ติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอ, สำนักงานเกษตรจังหวัด ใกล้บ้าน