กรมส่งเสริมการเกษตรเน้นเชิงรุกส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา และสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป

            นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันและมลพิษทางอากาศมีสาเหตุหลักมาจากการเผาในที่โล่งทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งยังส่งผลเสียต่ออาชีพการเกษตรโดยตรง เพราะทำให้ดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตต่ำ ในปี 2564 กรมส่งเสริมการเกษตร ขยายเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร รวม 280 เครือข่าย ในพื้นที่ 60 จังหวัด นอกจากนี้ยังขับเคลื่อนผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ในพื้นที่ 44 จังหวัด จำนวน 164 แห่ง ตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตรทดแทนการเผาการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร  ด้านการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร,  การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า, เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง

สำหรับสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินงานและการบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหา PM 2.5  มีบทบาทมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตรโดย ได้มีการวางแผนการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภายในจังหวัด บูรณาการการทำงานร่วมกัน โดย ระยะเร่งด่วน จัดตั้งคณะทำงานป้องกันและเฝ้าระวังการเผาเศษซากพืช และวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตร ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ตำบล  เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวน ป้องปราม อย่างจริงจัง และเฝ้าระวังและป้องกันการเผา เมื่อเผชิญเหตุจะมีชุดปฏิบัติการดับไฟเร่งด่วนรณรงค์สร้างความเข้าใจ และส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์แทนการเผา เช่น การไถกลบตอซัง การทำปุ๋ยหมัก การทำอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวมวล  ระยะยาว สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรทราบและตระหนักรู้ ถึงเรื่องผลกระทบการเผาป่า เศษวัสดุทางการเกษตร ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ฝึกอบรมเรื่องการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตร โดยไม่เผาและสร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อนำไปใช้ประโยชน์แทนการเผา เช่น การไถกลบตอซัง การทำปุ๋ยหมัก การทำอาหารสัตว์ เชื้อเพลิงชีวมวล การเพาะเห็ดจากฟาง  การจัดงานรณรงค์ลดการเผา ในพื้นที่การเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังบูรณาการร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน โดยการทำ MOU ร่วมบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท SCG เพื่อลดการเผาฟาง และช่วยลดฝุ่นละออง
ในอากาศ